ชื่อยา ริดสีดวงทวาร
ข้อบ่งใช้ บรรเทาอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร
คำแนะนำการใช้ ควรใช้ร่วมกับยาตรีผลาเพื่อให้ประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น
จากแพทย์แผนไทย
รูปแบบยา ยาแคปซูล ขนาด 250 mg.
วิธีใช้ รับประทานครั้งละ 3 แคปซูลวันละ 3 เวลา ก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น
องค์ประกอบทางเคมี:
ascorbic acid (vitamin C), lupeol, carotene, calcium oxalate
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ผลต่อแรงตึงตัวของหลอดเลือดดำ
สารสกัดเพชรสังฆาตมีฤทธิ์กระตุ้นหลอดเลือดดำ ให้มีความตึงตัวเพิ่มขึ้น คล้ายกับส่วนผสมของไบโอฟลาโวนอยด์ 2 ชนิด ได้แก่ ไดออสมิน 90% และฮิสเพอริดิน 10% ที่พบในตำรับยาแผนปัจจุบัน สำหรับใช้รักษาริดสีดวงทวาร
ฤทธิ์ต้านการอักเสบเฉียบพลัน
- สารสกัดเมทานอลยับยั้งการบวมของใบหู และการบวมของอุ้งเท้าของหนูขาว ที่ถูกกระตุ้นด้วยสารเคมี
- สารสกัดเฮกเซนที่ความเข้มข้นร้อยละ 1 และสารสกัดเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 ลดอาการบวมของใบหูหนูที่เหนี่ยวนำด้วยสารเคมี ได้ที่เวลา 30 นาที ตรวจพบองค์ประกอบทางเคมีของสาร lupeol ในสารสกัดเฮกเซน
ฤทธิ์แก้ปวด
สารสกัดเมทานอลลดจำนวนครั้งที่หนูถีบจักรยืดบิดตัวจากอาการเจ็บปวดท้องเนื่องจากได้รับกรดอะซีติกที่ฉีดเข้าทางช่องท้อง และลดระยะเวลาของการเลียเท้าหลังทั้ง 2ระยะ ในการทดสอบด้วยการฉีดฟอร์มาลิน แสดว่าออกฤทธิ์แก้ปวดผ่านทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนปลาย
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- เมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันพบว่าเพชรสังฆาตมีประสิทธิภาพที่ไม่แตกต่างกันกับยาแผนปัจจุบันใน 3 ด้าน ได้แก่ การลดการเกิดเลือดออก ลดอาการปวด และลดอาการหลอดเลือดขอดที่ยื่นออกมา
- เพชรสังฆาตประกอบด้วยไบโอฟลาโวนอยด์ 2 ชนิด ได้แก่ Diosmin และ hesperidin
-
ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์ และคณะได้ประเมินประสิทธิภาพของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารจำนวน 121 คน เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันอย่าง ดาฟลอน (Daflon) โดยผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของการประเมินผลของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับยาดาฟลอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าค่าใช้จ่ายของยาแคปซูลเพชรสังฆาตถูกกว่ายาดาฟลอนถึง 20 เท่าอีกด้วย ผลการวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าแคปซูลเพชรสังฆาตสามารถใช้ทดแทนยาดาฟลอนในการรักษาโรคริดสีดวงทวารได้เป็นอย่างดี
การศึกษาความเป็นพิษ
1.ไม่พบพิษในระยะเฉีบบพลัน เมื่อให้สารสกัดของเพชรสังฆาตขนาด 2,500 mg แก่หนูถีบจักร หนูขาวและกระต่ายด้วยการฉีดเข้าทางหน้าท้อง ทางปากและการทาที่ผิวหนัง
2. ไม่พบพิษในระยะกึ่งเรื้อรัง โดยให้ได้รับผงยาขนาด 1 ,10,100และ1000 เท่าต่อขนาดที่ใช้ในคนในหนูขาว พบว่าไม่เกิดพิษในระยะกึ่งเรื้อรัง ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา หรือจุลพยาธิสภาพของอวัยวะภายใน
เอกสารอ้างอิง
- Kothari SC, Shivarudraiah P, Venkataramaiah SB, et al. Safety assessment of Cissus quadrangularis extract (CQR-300): subchronic toxicity and mutagenicity studies. Food and chemical toxicity 2011;49:3343-57.
- สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.“เพชรสังฆาต”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/medplantdatabase/dtl_herbal.asp?hidKeylink=022Cis0Qua00.[15 พฤษภาคม 2561].
- ฐานข้อมูลเภสัชเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.“เพชรสังฆาต”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=95.[15 พฤษภาคม 2561].
- สุมาลินและคณะ(2542).ฤทธิ์ต้านการ .นครปฐม:คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- วิระพล ภิมาลย์และคณะ.(2557).การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน ประสิทธิภาพในการรักษาริดสีดวงทวารหนักของเพชรสังฆาต .มหาสารคาม:วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 ก.ย.-ธ.ค. 2557
- ปราณี ชวลิตธํารงและคณะ(2544). พิษกึ่งเรื้อรังของเพชรสังฆาต (Cissus quadragularis Linn.):. วารสารสงขลานครินทร์, 24(1), 39-51.
- สุรัติและคณะ(2554). ผลการรักษาโรคริดสีดวงทวารด้วยสารสกัดจากเพชรสังฆาต. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2554, 20(5), 848-856.