ชื่อยา ขมิ้นชัน
ข้อบ่งใช้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร
คำแนะนำการใช้ 1. ท้องอืดท้องเฟ้อ เนื่องจากมีกรดในกระเพาะอาหาร และมีอาการแสบท้องร่วมด้วย
จากแพทย์แผนไทย 2. การรักษาแผลในกระเพาะอาหารควรใช้คู่กับฟ้าทะลายโจรจึงจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รูปแบบยา ยาแคปซูล ขนาด 500mg.
วิธีใช้ รับประทานครั้งละ 1-2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น หรือก่อนนอน
ข้อควรระวัง ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี เนื่องจากขมิ้นมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี
ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในผู้ป่วยท่อน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอุดตัน
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
- มีฤทธิ์ขับลม ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ สมานแผลในกระเพาะอาหาร กระตุ้นการหลั่งสารเมือกมาเคลือบ
- มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหารโดยเร่งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล กระตุ้นการหลั่ง mucin มาเคลือบกระเพาะอาหารและยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลจาก turmerone และ curcumin แต่มีฤทธิ์ขับน้ำดี
- ต้านเชื้อHelicobacter pylori
- รักษาอาการอุจจาระร่วง
งานวิจัย
- การศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของขมิ้นชันเปรียบเทียบกับยา ranitidine ในผู้ป่วย uninvatigated dyspepsia พบว่า เมื่อให้รับประทานยาเป็นระยะเวลา 28 วัน พบว่า ทั้งขมิ้นชันและ ranitidine มีประสิทธิผลไม่แตกต่างกันในการรักษาอาการปวดท้องและอาการอื่นๆ พบผลข้างเคียงน้อย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เคยมีรายงานมาก่อนและเป็นอาการที่ไม่รุนแรง สามารถหายเองได้
- การศึกษาในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน(prediabetes poppulation) จำนวน 240 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาหลอกและกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชันแคปซูล ครั้งละ 3 แคปซูล 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 9 เดือน พบว่าหลัง 9 เดือน ร้อยละ 16.4 ของกลุ่มผู้ที่ได้รับยาหลอกได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในขณะที่การวินิจฉัยนี้ไม่พบในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชันแคปซูลและยังตรวจพบว่ามีการทำงานของเซลล์เบต้าซึ่งเป็นเซลล์ของตับอ่อนที่สร้างอินซูลิน รวมทั้งมีผลข้างเคียงของยาน้อยมาก
- การทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า เมื่อได้รับสารสกัดขมิ้นชัน นาน 6 เดือน สามารถลดภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด และภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดขมิ้นชันสามารถลดระดับไขมันใต้ผิวหนัง(Total body fat) และระดับไขมันอวัยวะภายในร่างกาย(visceral fat)
- การศึกษาการรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อด้วยขมิ้นชัน เปรียบเทียบกับยา Flatulene ในผู้ป่วย 200 ราย พบว่า ได้ผลไม่แตกต่างกัน
- ไม่พบพิษในระยะเฉียบพลัน โดยLD50>15 ก./กก. โดยการป้อนทางปาก ฉีดใต้ผิวหนัง และทางช่องท้อง
- การศึกษาความเป็นพิษเรื้อรัง โดยการให้สารcurcuminoids ในขนาดที่ใช้ในคน 10 มก./กก./วัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน 6 เดือน ไม่ทําาให้เกิดพิษในหนูขาว
- เมื่อใช้ขมิ้นชันร่วมกับยา Omeprazole สามารถรักษาแผลpepticได้ ลดอาการแสบร้อนท้องจากแผลเป๊บติก และมีความปลอดภัย ไม่แพ้ยามาตรฐาน
เอกสารอ้างอิง
- โสมนัส ศิริจารุกุล.(2550).การศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของขมิ้นชันเปรียบเทียบกับยา ranitidine ในผู้ป่วย uninvestigated dyspepsia .นครปฐม:สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ฉัตรชัย สวัสดิไชยและคณะ.ทบทวนงานวิจัยสมุนไพรไทยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย.วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า2559;3:265-269
- สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.“ขมิ้นชัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://medplant.mahidol.ac.th.[10 เมษายน 2561].
- ชัชวาลย์ ช่างทำ.คุณประโยชน์และฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลายของสมุนไพรขมิ้นชัน.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2558;2:2558